ภาพหัวบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome (IBS)

ตอนนี้มารู้เรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพบ้างดีกว่านะ วันนี้ขอนำเสนอโรคลำไส้แปรปรวน(IBS)

เกิดจากความผิดปกติในการ เคลื่อนตัวของลำไส้ จากการสำรวจประชากรทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนที่มีอาการกลุ่มโรค นี้ ประมาณร้อยละ10-20 และเป็นสาเหตุให้คนหยุดงานเป็นที่สองรองจากโรคหวัดในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 แต่การสำรวจในประเทศไทยโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน พบประมาณร้อยละ 4.6-6.9



กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน
กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome-IBS) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยอาการปวดท้องและการแปรปรวนของการถ่ายอุจาระโดยไม่มีพยาธิสภาพที่ทุก ๆอวัยวะในร่างกายมีหลักฐานว่าอาการเหล่านี้เกิดจากความผิดปกติในการเคลื่อนตัวของลำไส้ จากการสำรวจประชากรทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนที่มีอาการกลุ่มโรค IBS ประมาณร้อยละ10-20 และเป็นสาเหตุให้คนหยุดงานเป็นที่สองรองจากโรคหวัด ในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 แต่การสำรวจในประเทศไทยโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน พบประมาณร้อยละ 4.6-6.9 เท่านั้น


สาเหตุและการเกิดโรค
สาเหตุของโรคยัง ไม่ทราบแน่ชัด ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติทางพยาธิวิทยา แต่มีความ
ผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของลำไส้โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้ใหญ่ หรืออาจเกิดจากประสาทรับความรู้สึกไวกว่าปกติ
หรือมีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่โดยสมอง ซึ่งสามารถอธิบายการเกิดอาการ
ได้พอสมควรแม้จะไม่สมบูรณ์นัก และยังมีข้อขัดแย้งอยู่บ้าง

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วย IBS จะเริ่มมีอาการในวัยหนุ่มสาว หรืออายุไม่เกิน 40 ปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการครั้งแรก เมื่ออายุมากแล้ว แพทย์
ควรคำนึงถึงโรคอื่นก่อนการเริ่มต้นของอาการ มีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนมากจึงจำวันเริ่ม
มีอาการไม่ได้ เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการแบบเป็นแล้วหายแล้วอาการกำเริบใหม่ ระยะเวลาที่มีอาการและระยะเวลาที่หาย
อาจนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปี โดยมีอาการหลัก 2 ประการ คือ อาการปวดท้องส่วนใหญ่ที่ท้องน้อย อาการ
ปวดท้องจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระ และการแปรปรวนของการถ่ายอุจจาระ (ท้องผูก , ท้องเสียหรือทั้งสองอย่าง)
ท้อง อืดมีลมมากในท้อง ถ่ายมีมูก กลั่นอุจาระไม่อยู่ ปวดบริเวณทวารหลัก ในสตรีอาจมีอาการมากขึ้นในขณะมี
ประจำเดือน ถ้าอาการทั้งสองประการมีความสัมพันธ์กันก็ง่ายต่อการวินิจฉัยขึ้น ลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
แตกต่างกัน แต่ผู้ปวดรายเดียวกัน ทุกครั้งที่อาการกำเริบจะมีรูปแบบเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการแตกต่างไป
จากเดิม แพทย์ต้องคำนึงด้วยว่าอาจจะเกิดจากโรคอื่น


การวินิจฉัยโรค
เนื่อง จาก IBS เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีพยาธิสภาพ การวินิจฉัยโรคจึงต้องอาศัยกลุ่มอาการเป็นหลัก
โดยอาจยึดหลัก 3 ประการได้แก่

1. อาการปวดท้องเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ต้องเป็นติดต่อกัน แต่รวมเวลาที่มีอาการแล้วนานเกิน 3
เดือน ใน 12 เดือนที่ผ่านมา

2. อาการปวดท้องที่มีลักษณะต่อไปนี้
- ปวดบริเวณครึ่งล่างของท้อง
- ทุเลาด้วยการถ่ายอุจจาระ
- กระตุ้นให้ปวดด้วยการรับประทานอาหาร
- กระตุ้นให้ปวดด้วยความเครียด
- ไม่ตื่นกลางดึกเพราะปวดท้อง
3. อาการแปรปรวนของการถ่ายอุจจาระและลักษณะอุจจาระ
อุจจาระที่ถ่ายแต่ละครั้ง มีปริมาณน้อยไม่ว่าจะเป็นท้องผูกหรือท้องเดินและไม่ตื่นกลางดึกมาถ่ายอุจจาระ

1 ความคิดเห็น: